วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30
วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูหน้าชั้นเรียน  การลงมือปฏิบัติ/คั้นน้ำจากผัก/ผลไม้/ดอกไม้เพื่อเอาสีมาทำผสมอาหารหรือทำงานศิลปะ  ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้  การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร  การจำแนก/สังเกต/สื่อความหมายของข้อมูล   หลังจากการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้ทำขนม (Waffle) โดยให้จับกลุ่มละ6-7คน

ขั้นตอนการทำ (Waffle)
ส่วนผสม
1.แป้ง
2.เนย
3.ไข่ไก่
4.น้ำเปล่า

วิธีการทำ
1.เทแป้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้
2.นำไข่ใส่ลงไปตามด้วยเนยจืดคนให้เข้ากัน
3.เติมน้ำเพื่อไม่ให้แป้งข้นจนเกินไป
4.คนจนแป้งเข้าที่เป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้แบบนี้
5.แบ่งแป้งใส่ถ้วยที่เตรียมไว้
6.นำเนยทาที่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้เพื่อไม่ให้แป้งติดแม่พิมพ์
7.นำแป้งที่แบ่งไว้ในถ้วยเทลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้
8.รอจนสุกก็จะได้ Waffle ที่น่ากินค่ะ



การนำไปใช้

- สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้นำไปสอนเด็กทำขนมได้ในอนาคต
- สามารถสาธิตการทำให้เด็กๆดูได้และเด็กสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง
- สามารถนำไปปฏิบัติใช้จริงได้ในชีวิตประจำวัน


การประเมิน
ตนเอง  ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมกับเพื่อนๆและอาจารย์ในการทำกิจกรรม และสนใจฟังเพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัย

เพื่อน  เพื่อนๆตังใจเรียนมีความสนใจในการฟังเพื่อนออกไปนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูและมีส่วนร่วมในการทำขนม  Waffle 

อาจารย์  อาจารย์ได้ชี้แนะและข้อควรที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อที่จะได้ทำให้ถูกต้อง และอาจารย์ก็ได้สอนวิธีการทำขนม Waffle ได้อย่างละเอียดนักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมและได้ลงมือปฎิบัติจริง เพราะอาจารย์มีวิธีในการสอนที่ดีและให้นักศึกษามีส่วนได้อย่างทั่วถึง













วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ก็ได้ให้นำเสนอแผนการสอนต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว 3 กลุ่ม มีดังนี้
1.กลุ่มนกหงส์หยก
2.กลุ่มสัปปะรด
3.กลุ่มส้ม

หลังจากที่นำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ให้ออกมาทีละ7คนเพื่ออกมาอ่านวิจัยหรือโทรทัศน์ครูให้คุณครูและเพื่อนๆฟัง  หลังจากที่อ่านวิจัยกับโทรทัศน์ครูเสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้ทำการสอนและสาธิตการทำ ทาริยากิ ให้ดูและยังให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติจริงอีกด้วย และยังมีเครื่องปรุงและอุปกรณ์ในการทำ ดังนี้

เครื่องปรุง                                                        
1.ไข่ไก่
2.ข้าว
3.ปูอัด
4.ต้นหอม
5.ซอสแม็กกี้
6.แครอท

อุปกรณ์
1.กระทะสำหรับทำทาริยากิ
2.ถ้วย
3.ช้อน/ซ่อม

จากนั้นอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มละ6คนเพื่อลงมือปฎิบัติจริง ดิฉันได้ทำเป็นกลุ่มแรกพอทำเสร์จก็เวียนให้เพื่อนๆคนอื่นทำ

ภาพในการทำกิจกรรม




การนำไปใช้

- สามารถนำสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปใช้ได้จริง
- สามารถนำไปถ่ายทอดหรือสอนให้กับเด็กได้จริงในอนาคต
- สามารถนำกลับไปทำได้เอง

การประเมิน

ตนเอง   ตั้งใจและสนใจในการทำ ทาริยากิ มีส่วนร่วมกับเพื่อนๆในการทำทาริยากิ ทำออกมาได้ดีและได้ลองชิมดูอร่อยดีค่ะ

เพื่อน  เพื่อนๆก็ตั้งใจกันร่วมกันทำทาริยากิเป็นอย่างดีค่ะ สนุกสนานในการทำกิจกรรม

อาจารย์  อาจารย์มีการสาธิตในการทำทาริยากิให้ดูและอธิบายถึงขั้นตอนการทำและยังถ่านทอดให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติจริงอีกด้วย





สรุปวิจัย

เรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ปริญญานิพนธ์
ของ
สมคิด  ศรไชย


    ตัวแปรต้น  การจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
     ตัวแปรตาม  การคิดเชิงเหตุผล
            การจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเองเด็กได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการทดลองโดยอาศัยการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารเพื่อให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ เปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของสิ่งต่างๆ จากการทดลองแล้วสรุปผลที่ได้ตามความเข้าใจของตนเองและใช้คำถามเชื่ิมโยงให้เด็กเกิดการคิดเชิงเหตุผลด้านการจำแนกประเภท ระหว่างการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยมีขั้นตอนดังนี้
            ขั้นนำ  เป็นการนำเข้าสู่กิจกรรมโดยเด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทักษะพิ้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กเกิดการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร โดยให้เด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองแล้วให้เด็กคาดคะเนผลการทดลอง
             ขั้นดำเนินกิจกรรม   เป็นขั้นตอนที่เด็กร่วมกันวางแผนการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร แล้วลงมือปฎิบัติการทดลองด้วยตนเองโดยเด็กหยิบจับสัมผัสเห็นการเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลอง
              ขั้นสรุป   เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร ว่าเป็นไปตามคาดคะเนไว้หรือไม่ให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นพร้อมอธิบายเหตุผลที่ได้จากผลการทดลอง
   

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มของมานำเสนอแผนการสอนโดยให้ออกไปสอนโดยสมมุติว่าเพื่อนๆเป็นเด็ก
 
 กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ใช้แผนวันจันทร์ 
 กลุ่มที่2 หน่วยนกหงส์หยกใช้แผนวันอังคาร
 กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพดใช้แผนวันพุธ
 กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมงใช้แผนวันพฤหัสบดี
 กลุ่มที่5 หน่วยกล้วยใช้แผนวันศุกร์ 
 กลุ่มที่6 หน่วยช้างใช้แผนวันจันทร์
 กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อใช้แผนวันอังคาร 
 กลุ่มที่8 หน่วยสัปปะรดใช้แผนวันพุธ
 กลุ่มที่9 หน่วยส้มใช้แผนวันพฤหัสบดี  *แต่วันนี้มีการนำเสนอแค่6กลุ่มอีก3กลุ่มนำเสนอต่ออาทิตย์หน้าค่ะ


การนำไปใช้
   
  - เราสามารถนำความรู้ที่ได้วันนี้ไปใช้ได้จริงเพราะการเขียนแผนเป็นสิ่งสำคัญมากกับอาชีพครูเพราะก่อนที่เราจะไปสอนเด็กเราต้องมีแผนการสอนก่อนก่อนที่จะไปสอนเด็กเพื่อให้เกิดประโยชน์กับตัวเด็ก
  - สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

ประเมิน

ตนเอง  ตั้งใจเรียนพอสมควรสนใจดูเพื่อนๆนำเสนอแผนการสอนและร่วมกิจกรรมกับเพื่อนในชั้นเรียน แต่งกายเรียบร้อย

เพื่อน  เพื่อนๆส่วนใจก็ตั้งใจเรียนมีส่วนน้อยที่คุยกัน ตั้งใจออกนำเสนอแผนการสอนเป็นอย่างดีค่ะ มีบางกลุ่มที่ทำน้ำแตงโมปั่นอร่อยดีค่ะ

อาจารย์  อาจารย์ก็ชี้แนะถึงข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อที่จะให้นักศึกษานำกับไปแก้ไขแผนการสอนให้ถูกต้อง เพื่อที่จะไม่มีข้อผิดพลาดอีก















วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ได้สอนวิธีการเขียนแผนแล้วอาจารย์ก็ให้นั่งตามกลุ่มในเรื่องของหน่วยต่างๆ กลุ่ม

ของดิฉันได้หน่วย นกหงส์หยก แล้วอาจารย์ก็แจกแผนของรุ่นพี่มาให้ดูเป็นตัวอย่าง รูปแบบ

การเขียนแผนมีดังนี้

6กิจกรรม

-เสริมประสบการณ์
-เคลื่อนไหวและจังหวะ
-ศิลปสร้างสรรค์
-เสรี(มุม)
-เกมกลางแจ้ง
-เกมการศึกษา
รูปแบบ
-สาระ
-เนื้อหา
-แนวคิด
-ประสบการณ์สำคัญ
-บูรณาการรายวิชา
-เว็บกิจกรรม
-วัตถุประสงค์
-กรอบพัฒนาการ

วัตถุประสงค์

-ชนิด
-ลักษณะ
-ประโยชน์ข้อควรระวัง
-การขยายพันธ์
-การดำรงชีวิต

การนำไปใช้

-เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเขียนแผนไปใช้ได้ในอนาคตเพราะการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก
-สามารถนำแผนที่เราเขียนนำไปสอนเด็กได้

ประเมิน

ตนเอง  แต่งกายเรียบร้อย สนใจในการเขียนแผนไม่เข้าส่วนไหนก็ถามเวลาอจารย์บอกก็จดใส่สมุดไว้ดูเพิ่มเติม

เพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและสนใจกับการเขียนแผนการสอนไม่เข้าใจอะไรก็ยกมือถามเพิ่ทเติม

อาจารย์  สอนและอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนได้ดีค่ะสอนละเอียดนักศึกษาไม่เข้าใจอะไรอจารย์ก็อธิบายในส่วนที่ไม่เข้าใจเพื่อให้เข้าใจ













วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2557

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์ให้ตัวแทนนักศึกษาออกไป

สาธิต





แล้วอาจารย์ก็แจกกระดาษให้ตัดเป็นรูปดอกไม้แล้วก็ระบายสีให้สวยงามแล้วก็พับให้เป็น

สี่เหลี่ยมจากนั้นก็ออกไปสาธิตหน้าชั้นเรียนว่าถ้าเรานำลงไปลอยในน้ำแล้วทำไมดอกไม้ถึง

บานออกก็เพราะว่าน้ำเข้าไปซีมในทุกๆส่วนของกระดาษที่เราระบายสีจึงทำให้ดอกไม้บาน




กิจกรรมต่อมาอาจารย์ก็แจกดินน้ำมันให้คนละก้อนเพื่อที่จะทำการทดลอง อาจารย์ให้ปั้นดิน

น้ำมันเป็นวงกลมแล้วก็เอาไปลอยในน้ำว่าถ้าเราปั้นดินน้ำมันให้เป็นวงกลมแล้วดินน้ำมันจะจม

หรือลอยผลออกมาดินน้ำมันก็จม แต่อาจารย์ก็ให้ลองไปเปลี่ยนแนวคิดว่าถ้าเราปั้นดินน้ำมัน

เป็นรูปอื่นแล้วดินน้ำมันจะจมหรือลอย ดิฉันก็ปั้นดินน้ำมันให้เป็นแผ่นแล็วก็มีขอบขึ้นมา แล้วก็

นำไปสาธิตดูว่าจะจมหรือลอย ผลออกมาคือดินน้ำมันลอยเพราะที่ดินน้ำมันลอยได้ก็เพราะว่า

เราทำให้ดินน้ำมันมีขอบขึ้นมาจึงสามารถทำให้ดินน้ำมันไม่จม



หลังจากทำการทดลองเสร็จอาจารย์ก็ได้สอนการเขียนแผน


การนำไปใช้

 -  สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้กับเด็กได้ในอนาคต

 -  สามารถนำการทดลองวิทยาศาสตร์ไปใช้กับเด็กได้จริง 

ประเมิน

ตนเอง  ตั้งใจและให้ความร่วมือกับอาจารย์ทำการทดลองหน้าชั้นเรียน

เพื่อน  ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการสาธิตหน้าชั้นเรียน

อาจารย์  มีกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาทดลองจึงทำให้มีความน่าสนใจยิ่ง

ขึ้นค่ะ