วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่อง สถานะของสาร
โดย ครูกอบวิทย์ พิธิยะวัฒน์

       สะสารมี3สถานะ ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส  ของแข็ง ไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง อยู่กับที่ ทะลุผ่านได้ยาก  ของเหลว มีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ ไหลได้ ทะลุผ่านได้  แก๊ส  มีรูปร่างกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ ฟุ้งกระจายได้อย่างรวดเร็ว ทะลุผ่านได้ง่ายมาก  คุณครูกอบวิทย์ ก็มีกิจกรรมมาให้นักเรียนทำ โดยให้นักเรียนจำนวนหนึ่งออกมาแสดงบทบาทสมมติโดยเปรียบเด็กแต่ละคนเป็นอนุภาคของสารในสถานะต่างๆ พอได้อาสาสมัครแล้วให้กลุ่มหนึ่งแสดงเป็นก้อนหิน ที่มีสถานะเป็นของแข็ง กลุ่มที่สองให้จับมือกันแล้วให้เดินผ่านช่องแคบๆสามารถเดินผ่านได้ก็แสดงว่ามีสถานะเป็นขอเหลว ส่วนกลุ่มที่สามไม่ต้องจับมือกัน แต่มีช่องว่างมากก็แสดงว่ามีสถานะเป็นแก๊สนั่นเองค่ะ

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood
กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30
วันอังคารที่ 2 ธันวาคม 2557


ความรู้ที่ได้รับ

       ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้ออกเป็นคนที่สองของสัปดาห์นี้ ดิฉันนำเสนอวิจัยเรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์   ปริญญานิพนธ์ของ  สมคิด ศรไชย  หลังจากที่นำเสนอวิจัยเสร็จอาจารย์ก็ให้จับกลุ่มทำกิจกรรมกลุ่ม จับกลุ่มตามที่เขียนแผน อาจารย์ให้ทำปัวชัวร์เกี่ยวกับหน่วยที่เราเขียนแผนกลุ่มของดิฉันทำปัวชัวร์หน่วยนกหงส์หยก  เป็นปัวชัวร์กิจกรรมสารสัมพันธ์สู่ผู้ปกครอง มีรายละเอียดดังนี้ ชี้แจงผู้ปกครอง เล่าสู่กันฟัง  เล่นกับลูก  เพลง/คำคล้องจอง ค่ะ และในสัปดาห์ก็เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนค่ะ

ภาพกิจกรรม




การนำไปใช้

- สามารถนำความรู้ที่ได้วันนี้ไปเผยแผ่ให้กับเด็กได้เพราะในชีวิตประจำวันนี้วิทยาศาสตร์สำคัญ   กับเด็กมาก
- สามารถนำสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปใช้ได้จริง
- สามารถนำไปถ่ายทอดหรือสอนให้กับเด็กได้จริงในอนาคต



การประเมิน

ตนเอง   มีการเตรียมพร้อมกับการนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มค่ะ

เพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจเรียนสนใจในการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มค่ะ

อาจารย์  อาจารย์แนะนำเพิ่มเติมจากการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูหน้าชั้นเรียน และมีการสอนอย่างละเอียดสิ่งไหนที่ไม่เข้าใจอาจารย์ก็จะคอยซักถามว่าเข้าใจไหม อาจารย์ก็จะได้อธิบายให้เข้าใจเพิ่มขึ้นค่ะ และได้ให้นักศึกษาร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มด้วยเพื่อจะได้มีความสามัคคีกันค่ะ




                                                                         
                              










วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30
วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูหน้าชั้นเรียน  การลงมือปฏิบัติ/คั้นน้ำจากผัก/ผลไม้/ดอกไม้เพื่อเอาสีมาทำผสมอาหารหรือทำงานศิลปะ  ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้  การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร  การจำแนก/สังเกต/สื่อความหมายของข้อมูล   หลังจากการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้ทำขนม (Waffle) โดยให้จับกลุ่มละ6-7คน

ขั้นตอนการทำ (Waffle)
ส่วนผสม
1.แป้ง
2.เนย
3.ไข่ไก่
4.น้ำเปล่า

วิธีการทำ
1.เทแป้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้
2.นำไข่ใส่ลงไปตามด้วยเนยจืดคนให้เข้ากัน
3.เติมน้ำเพื่อไม่ให้แป้งข้นจนเกินไป
4.คนจนแป้งเข้าที่เป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้แบบนี้
5.แบ่งแป้งใส่ถ้วยที่เตรียมไว้
6.นำเนยทาที่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้เพื่อไม่ให้แป้งติดแม่พิมพ์
7.นำแป้งที่แบ่งไว้ในถ้วยเทลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้
8.รอจนสุกก็จะได้ Waffle ที่น่ากินค่ะ



การนำไปใช้

- สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้นำไปสอนเด็กทำขนมได้ในอนาคต
- สามารถสาธิตการทำให้เด็กๆดูได้และเด็กสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง
- สามารถนำไปปฏิบัติใช้จริงได้ในชีวิตประจำวัน


การประเมิน
ตนเอง  ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมกับเพื่อนๆและอาจารย์ในการทำกิจกรรม และสนใจฟังเพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัย

เพื่อน  เพื่อนๆตังใจเรียนมีความสนใจในการฟังเพื่อนออกไปนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูและมีส่วนร่วมในการทำขนม  Waffle 

อาจารย์  อาจารย์ได้ชี้แนะและข้อควรที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อที่จะได้ทำให้ถูกต้อง และอาจารย์ก็ได้สอนวิธีการทำขนม Waffle ได้อย่างละเอียดนักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมและได้ลงมือปฎิบัติจริง เพราะอาจารย์มีวิธีในการสอนที่ดีและให้นักศึกษามีส่วนได้อย่างทั่วถึง













วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ก็ได้ให้นำเสนอแผนการสอนต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว 3 กลุ่ม มีดังนี้
1.กลุ่มนกหงส์หยก
2.กลุ่มสัปปะรด
3.กลุ่มส้ม

หลังจากที่นำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ให้ออกมาทีละ7คนเพื่ออกมาอ่านวิจัยหรือโทรทัศน์ครูให้คุณครูและเพื่อนๆฟัง  หลังจากที่อ่านวิจัยกับโทรทัศน์ครูเสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้ทำการสอนและสาธิตการทำ ทาริยากิ ให้ดูและยังให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติจริงอีกด้วย และยังมีเครื่องปรุงและอุปกรณ์ในการทำ ดังนี้

เครื่องปรุง                                                        
1.ไข่ไก่
2.ข้าว
3.ปูอัด
4.ต้นหอม
5.ซอสแม็กกี้
6.แครอท

อุปกรณ์
1.กระทะสำหรับทำทาริยากิ
2.ถ้วย
3.ช้อน/ซ่อม

จากนั้นอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มละ6คนเพื่อลงมือปฎิบัติจริง ดิฉันได้ทำเป็นกลุ่มแรกพอทำเสร์จก็เวียนให้เพื่อนๆคนอื่นทำ

ภาพในการทำกิจกรรม




การนำไปใช้

- สามารถนำสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปใช้ได้จริง
- สามารถนำไปถ่ายทอดหรือสอนให้กับเด็กได้จริงในอนาคต
- สามารถนำกลับไปทำได้เอง

การประเมิน

ตนเอง   ตั้งใจและสนใจในการทำ ทาริยากิ มีส่วนร่วมกับเพื่อนๆในการทำทาริยากิ ทำออกมาได้ดีและได้ลองชิมดูอร่อยดีค่ะ

เพื่อน  เพื่อนๆก็ตั้งใจกันร่วมกันทำทาริยากิเป็นอย่างดีค่ะ สนุกสนานในการทำกิจกรรม

อาจารย์  อาจารย์มีการสาธิตในการทำทาริยากิให้ดูและอธิบายถึงขั้นตอนการทำและยังถ่านทอดให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติจริงอีกด้วย





สรุปวิจัย

เรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ปริญญานิพนธ์
ของ
สมคิด  ศรไชย


    ตัวแปรต้น  การจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
     ตัวแปรตาม  การคิดเชิงเหตุผล
            การจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเองเด็กได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการทดลองโดยอาศัยการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารเพื่อให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ เปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของสิ่งต่างๆ จากการทดลองแล้วสรุปผลที่ได้ตามความเข้าใจของตนเองและใช้คำถามเชื่ิมโยงให้เด็กเกิดการคิดเชิงเหตุผลด้านการจำแนกประเภท ระหว่างการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยมีขั้นตอนดังนี้
            ขั้นนำ  เป็นการนำเข้าสู่กิจกรรมโดยเด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทักษะพิ้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กเกิดการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร โดยให้เด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองแล้วให้เด็กคาดคะเนผลการทดลอง
             ขั้นดำเนินกิจกรรม   เป็นขั้นตอนที่เด็กร่วมกันวางแผนการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร แล้วลงมือปฎิบัติการทดลองด้วยตนเองโดยเด็กหยิบจับสัมผัสเห็นการเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลอง
              ขั้นสรุป   เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร ว่าเป็นไปตามคาดคะเนไว้หรือไม่ให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นพร้อมอธิบายเหตุผลที่ได้จากผลการทดลอง
   

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มของมานำเสนอแผนการสอนโดยให้ออกไปสอนโดยสมมุติว่าเพื่อนๆเป็นเด็ก
 
 กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ใช้แผนวันจันทร์ 
 กลุ่มที่2 หน่วยนกหงส์หยกใช้แผนวันอังคาร
 กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพดใช้แผนวันพุธ
 กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมงใช้แผนวันพฤหัสบดี
 กลุ่มที่5 หน่วยกล้วยใช้แผนวันศุกร์ 
 กลุ่มที่6 หน่วยช้างใช้แผนวันจันทร์
 กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อใช้แผนวันอังคาร 
 กลุ่มที่8 หน่วยสัปปะรดใช้แผนวันพุธ
 กลุ่มที่9 หน่วยส้มใช้แผนวันพฤหัสบดี  *แต่วันนี้มีการนำเสนอแค่6กลุ่มอีก3กลุ่มนำเสนอต่ออาทิตย์หน้าค่ะ


การนำไปใช้
   
  - เราสามารถนำความรู้ที่ได้วันนี้ไปใช้ได้จริงเพราะการเขียนแผนเป็นสิ่งสำคัญมากกับอาชีพครูเพราะก่อนที่เราจะไปสอนเด็กเราต้องมีแผนการสอนก่อนก่อนที่จะไปสอนเด็กเพื่อให้เกิดประโยชน์กับตัวเด็ก
  - สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

ประเมิน

ตนเอง  ตั้งใจเรียนพอสมควรสนใจดูเพื่อนๆนำเสนอแผนการสอนและร่วมกิจกรรมกับเพื่อนในชั้นเรียน แต่งกายเรียบร้อย

เพื่อน  เพื่อนๆส่วนใจก็ตั้งใจเรียนมีส่วนน้อยที่คุยกัน ตั้งใจออกนำเสนอแผนการสอนเป็นอย่างดีค่ะ มีบางกลุ่มที่ทำน้ำแตงโมปั่นอร่อยดีค่ะ

อาจารย์  อาจารย์ก็ชี้แนะถึงข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อที่จะให้นักศึกษานำกับไปแก้ไขแผนการสอนให้ถูกต้อง เพื่อที่จะไม่มีข้อผิดพลาดอีก















วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ได้สอนวิธีการเขียนแผนแล้วอาจารย์ก็ให้นั่งตามกลุ่มในเรื่องของหน่วยต่างๆ กลุ่ม

ของดิฉันได้หน่วย นกหงส์หยก แล้วอาจารย์ก็แจกแผนของรุ่นพี่มาให้ดูเป็นตัวอย่าง รูปแบบ

การเขียนแผนมีดังนี้

6กิจกรรม

-เสริมประสบการณ์
-เคลื่อนไหวและจังหวะ
-ศิลปสร้างสรรค์
-เสรี(มุม)
-เกมกลางแจ้ง
-เกมการศึกษา
รูปแบบ
-สาระ
-เนื้อหา
-แนวคิด
-ประสบการณ์สำคัญ
-บูรณาการรายวิชา
-เว็บกิจกรรม
-วัตถุประสงค์
-กรอบพัฒนาการ

วัตถุประสงค์

-ชนิด
-ลักษณะ
-ประโยชน์ข้อควรระวัง
-การขยายพันธ์
-การดำรงชีวิต

การนำไปใช้

-เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเขียนแผนไปใช้ได้ในอนาคตเพราะการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก
-สามารถนำแผนที่เราเขียนนำไปสอนเด็กได้

ประเมิน

ตนเอง  แต่งกายเรียบร้อย สนใจในการเขียนแผนไม่เข้าส่วนไหนก็ถามเวลาอจารย์บอกก็จดใส่สมุดไว้ดูเพิ่มเติม

เพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและสนใจกับการเขียนแผนการสอนไม่เข้าใจอะไรก็ยกมือถามเพิ่ทเติม

อาจารย์  สอนและอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนได้ดีค่ะสอนละเอียดนักศึกษาไม่เข้าใจอะไรอจารย์ก็อธิบายในส่วนที่ไม่เข้าใจเพื่อให้เข้าใจ













วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2557

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์ให้ตัวแทนนักศึกษาออกไป

สาธิต





แล้วอาจารย์ก็แจกกระดาษให้ตัดเป็นรูปดอกไม้แล้วก็ระบายสีให้สวยงามแล้วก็พับให้เป็น

สี่เหลี่ยมจากนั้นก็ออกไปสาธิตหน้าชั้นเรียนว่าถ้าเรานำลงไปลอยในน้ำแล้วทำไมดอกไม้ถึง

บานออกก็เพราะว่าน้ำเข้าไปซีมในทุกๆส่วนของกระดาษที่เราระบายสีจึงทำให้ดอกไม้บาน




กิจกรรมต่อมาอาจารย์ก็แจกดินน้ำมันให้คนละก้อนเพื่อที่จะทำการทดลอง อาจารย์ให้ปั้นดิน

น้ำมันเป็นวงกลมแล้วก็เอาไปลอยในน้ำว่าถ้าเราปั้นดินน้ำมันให้เป็นวงกลมแล้วดินน้ำมันจะจม

หรือลอยผลออกมาดินน้ำมันก็จม แต่อาจารย์ก็ให้ลองไปเปลี่ยนแนวคิดว่าถ้าเราปั้นดินน้ำมัน

เป็นรูปอื่นแล้วดินน้ำมันจะจมหรือลอย ดิฉันก็ปั้นดินน้ำมันให้เป็นแผ่นแล็วก็มีขอบขึ้นมา แล้วก็

นำไปสาธิตดูว่าจะจมหรือลอย ผลออกมาคือดินน้ำมันลอยเพราะที่ดินน้ำมันลอยได้ก็เพราะว่า

เราทำให้ดินน้ำมันมีขอบขึ้นมาจึงสามารถทำให้ดินน้ำมันไม่จม



หลังจากทำการทดลองเสร็จอาจารย์ก็ได้สอนการเขียนแผน


การนำไปใช้

 -  สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้กับเด็กได้ในอนาคต

 -  สามารถนำการทดลองวิทยาศาสตร์ไปใช้กับเด็กได้จริง 

ประเมิน

ตนเอง  ตั้งใจและให้ความร่วมือกับอาจารย์ทำการทดลองหน้าชั้นเรียน

เพื่อน  ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการสาธิตหน้าชั้นเรียน

อาจารย์  มีกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาทดลองจึงทำให้มีความน่าสนใจยิ่ง

ขึ้นค่ะ




  
















วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2557

  ความรู้ที่ได้รับ
     
สัปดาห์นี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ต่อจากอาทิตย์ที่แล้วพร้อมกับบอก

ว่า มีวิธีทำอย่างไร มีวิธีเล่นอย่างไร และของเล่นชิ้นนี้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร ของเล่นที่

ดิฉันออกไปนำเสนอคือ กีตาร์ค่ะ


ภาพประกอบ




ต่อมาอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทำประดิษฐ์จาก แกนกระดาษทิชชู่ ที่อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนเตรียมมา

วิธีทำ

1. ตัดแกนทิชชู่เป็น 2 ท่อน
2. ใช้ที่เจาะรู เจาะรูทั้ง 2 ฝั่นตรงข้าม
3. ใช้ไหมพรมใส่เข้าไปในรูที่เจาะ ความยาวประมาณคล้องคอพอดี
4. วาดรูปอะไรก็ได้ที่เราชอบ แล้วนำมาติดที่แกนทิชชู่

วิธีเล่น

 นำไหมพรมคล้องที่คอใช้มือทั้ง 2 ข้างดึงไหมพรมที่อยู่ข้างล่างขยับซ้ายขวาไปมา แกนทิชชู่ก็จะค่อยๆ

เลื่อยขึ้นมา

ภาพประกอบ



การนำไปใช้

เราสามารถนำความรู้ที่เราได้รับนำไปใช้สอนกับเด็กได้ในอนาคตเพราะเด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น เพราะ

เด็กชอบที่จะเรียนรู้โดยผ่านการเล่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ การประดิษฐ์ของเล่นต่างๆเด็กจะเกิด

ความสนใจเป็นอย่างมาก

ประเมิน

ตนเอง  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน เตรียมพร้อมกับการออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์

เพื่อน  ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี และเตรียมพร้อมกับการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์และมีความน่าสนใจ

อาจารย์  อาจารย์สอนและอธิบายชี้แนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับของเล่นที่นักศึกษาออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน












วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ของเล่น  "กีตาร์"




วัสดุอุปกรณ์ในการทำ


1.กระดาษสีต่างๆ
2.หลอดใหญ่
3.กรรไกร
4.คัตเตอร์
5.กาวสองหน้า/กาวTOA
6.กล่องขนม


วิธีการทำ 



   1.นำกล่องมาเจาะรูตรงกลางให้เป็นวงกลม




2.จากนั้นก็นำหลอดมาใส่ตรงกลางกล่องที่ตัดไว้ แล้วก็ห่อด้วยกระดาษสี ตามที่ชอบ

3.แล้วก็นำเส้นยางมาใส่ให้ครบ4เส้นดังรูปพร้อมกับตกแต่งให้สวยงาม


4. ก็จะได้กีตาร์ที่เสร็จสมบูรณ์


วิธีเล่น

ให้เด็กดีดเส้นยางไปมา ก็จะทำให้กีตาร์เกิดเสียง ที่มันเกิดเสียงก็เพราะเกิดจากแรงดีด









บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


Science Experiences Management for Early Childhood


กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30


วันอังคารที่ 14 ตุลาคม 2557


ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่พร้อมในการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ โดยที่ยังไม่ต้องมีของเล่น

ออกมาก็ได้ อาจารย์แค่ให้ออกมาพูดหรืออธิบายให้เพื่อนฟัง ว่าของเล่นชิ้นนี้เกี่ยวกับวิทยาสาสตร์

อย่างไร มีวิธีเล่นอย่างไร และอาจารย์ก็ให้คำแนะนำเพื่อที่จะไปปรับปรุงให้ดีขึ้นค่ะ  

การนำไปใช้

เราสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในอนาคตได้  เพราะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความจำเป็น

อย่างมากสำหรับเด็ก เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และเราจะได้รู้ด้วยว่าเรื่องใดที่มี

ความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของเด็ก กับการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัยในอนาคต

ประเมิน

ตนเอง   ตั้งใจเรียน  แต่ก็มีคุยบ้างเล็กน้อย

เพื่อน  เพื่อนสนใจออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์

อาจารย์  สอนและให้คำแนะนำเพิ่มเติมที่ดีค่ะ





   

 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2557



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ
เนื่องจากสอบกลางภาค



บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30


วันอังคารที่ 30 กันยายน 2557




 ในวันนี้อาจารย์ติดธุระ  งานจิตอาสาตามรอยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง วิทยากรโดย คุณ ปอ 

 ทฤษฎี สหวงศ์  และติดฝนหนักมากเพื่อนๆบางคนก็กลับบ้านจึงไม่มีการเรียนการสอนค่ะ













วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


Science Experiences Management for Early Childhood


กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 22 กันยายน 2557


ความรู้ที่ได้รับ


นำเสนอบทความ

1.สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์จากเป็ดและได้
เรียนโดยมีเพลงเป็นสื่อกลาง มีการสนธนาโต้ตอบ การเล่าเรื่องราวและการลงพื้นที่จริง
อ่านโดยนาวสางนภาวรรณ กรุดเงียม



2.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก บทความจาก ดร.เทพกัณญา
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นไม่ควารแยกแยะควรพัฒนาเด็กในองค์รวมทั้ง4ด้าน ควรเข้าใจคำถามของเด็กๆ
อ่านโดยนางสาวสุธาสินิ


3.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก บทความจากดร.อัญชลี ไสยวรรณ
เด็กปฐมวัยอยากรู้อยากเห็นชอบตั้งคำถามว่า"ทำไม"
อ่านโดยนางสาวนฤมล อิสสระ

    กิจกรรมในห้องเรียน







การนำไปใช้

- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆ

- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการเรียนการสอนได้ในอนาคต

ประเมิน 

ตนเอง  แต่งกายเรียบร้อย มีคุยบ้างในเวลาเรียน

เพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรม เสียงดังเป็นบางครั้ง

อาจารย์  อาจารย์สอนและอธิบายเนื้อหาได้เข้าใจดีค่ะ ไม่งง


  


 





บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


Science Experiences Management for Early Childhood


กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30


วันอังคารที่ 16 กันยายน 2557




ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับบทเพลงวิทยาศาสาตร์ให้ฟัง แล้วก็ให้วิเคราะห์ออกมาเป็นองค์

ความรู้ ฟังแล้วได้อะไร แล้วก็ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน


แล้วก็มีเพื่อน 2 คนออกไปนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน


1 นางสาววีนัส ยอดแก้ว นำเสนอเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่?

ผู้เขียน อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น

 2 นางสาวเจนจิรา บุตรช่วง นำเสนอเรื่อง สอนลูกเรื่องพืช
ผู้เขียน อาจารย์นิติธร ปิลวาสน์
การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน


การนำไปใช้

- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับการเรียนการสอนได้ในอนาคต


ประเมิน

ตนเอง ตั้งใจเรียนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย

เพื่อน เพื่อนๆตั้งใจเรียน

อาจารย์ อาจารย์สอนและอธิบายเนื้อหาได้เข้าใจพร้อมยกตัวอย่าง










วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557



สรุปความลับของแสง


แสง เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่รับรู้ได้ด้วยสายตา แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้แหล่งกำเนิดแสง

แหล่งกำเนิดแสง หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดแสงได้ โดยแยกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. แสงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาวบางดวง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า แสงจากดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ใหญ่ที่สุด

2. แสงจากสัตว์ สัตว์บางชนิดจะมีแสงในตัวเอง เช่น หิ่งห้อย แมงดาเรือง

3. แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เช่น แสงจากไฟฉาย เทียนไข หลอดไฟฟ้า แสงที่เกิดจากการลุกไหม้


การเดินทางของแสง

แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดด้วยความเร็วมาก โดยเดินทางได้ 186,000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 300,000 กิโลเมตร ต่อวินาที แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง และเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เช่น แสงจากดวงอาทิตย์เดินทางมายังโลกของเรา โดยผ่านสุญญากาศ ผ่านอากาศมายังโลกของเราใช้เวลา 8 นาที ซึ่งดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกของเราถึง 93 ล้านไมล์

ตัวกลางของแสง

ตัวกลางของแสง หมายถึง วัตถุที่ขวางทางเดินของแสง โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ตัวกลางโปร่งใส หมายถึง ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านไปได้หมด เช่น น้ำใส พลาสติกใส กระจกใส อากาศ แก้วใส

2. ตัวกลางโปร่งแสง หมายถึง ตัวกลางที่แสงผ่านไปได้ดี แต่ผ่านได้ไม่หมด เช่น น้ำขุ่น กระจกฝ้า หรือหมอกควัน เป็นต้น

3. ตัวกลางทึกแสง หมายถึง ตัวกลางที่แสงผ่านไม่ได้เลย เช่น สังกะสี กระเบื้อง กระจกเงา เป็นต้น

การหักเหของแสง

แสงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางอย่างเดียว จะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางอย่างหนึ่ง ไปยังตัวกลางอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการหักเหของแสง เช่น แสงเดินทางจากน้ำผ่านอากาศ หรือจากอากาศผ่านไปยังน้ำ จะเกิดการหักเหตรงรอยต่อ

การหักเหของแสงผ่านเลนส์

เลนส์ คือ วัตถุโปร่งใสที่ทำจากแก้วหรือพลาสติก ลักษณะของเลนส์จะมีผิวโค้งบริเวณตรงกลาง และส่วนขอบจะหนาไม่เท่ากัน เลนส์แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1. เลนส์นูน มีลักษณะตรงกลางนูนโค้งและมีส่วนขอบบางกว่า แสงเมื่อเดินทางผ่านเลนส์นูนจะเกิดการหักเห รวมแสงที่จุด จุดหนึ่ง ถ้าเราใช้เลนส์นูนส่องดูวัตถุจะทำให้ดูว่าวัตถุใหญ่ขึ้น เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์นูน

2. เลนส์เว้า มีลักษณะขอบโดยรอบหนากว่าส่วนกลางของเลนส์เมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์เว้าจะเกิดการหักเห และกระจายออกจากกัน ดังนั้นเลนส์เว้าจึงมีคุณสมบัติในการกระจายแสงเมื่อเรามองวัตถุผ่านเลนส์เว้าภาพที่เกิดจะมองเห็นวัตถุเล็กลงกว่าเดิม เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์เว้า









บทความ

บทความ  การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments)

การทดลองทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร?

ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์
ระดับ: ก่อนอนุบาล อนุบาลหมวด: เกี่ยวกับอนุบาล


การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การฟัง การเห็น การชิมรส การดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โอกาสปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังที่ ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget) กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลมาจากการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม และพัฒนาการทางสติปัญญาจะเป็นไปตามลำดับขั้น และสอดคล้องกับแนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ที่กล่าวว่า ประสบการณ์สำหรับเด็กเกิดขึ้นได้ต้องใช้ความคิดและการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การทดลอง และการค้นพบด้วยตนเอง ดังนั้น รูปแบบการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงคำนึงถึงพัฒนาและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะวุฒิภาวะ ความพร้อม และการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสามารถทางสมองของเด็ก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรก สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทักษะกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการคิดในการแสวงหาความรู้ ตลอดจนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้ทักษะการสังเกต (Observing) หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเข้าสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายละเอียดนั้นๆ เช่น
การให้เด็กสังเกตสีของผลไม้และบอกครูว่ามีสีอะไรบ้าง
การให้เด็กฟังเสียงร้องของนกชนิดต่างๆแล้วบอกว่าเป็นเสียงนกอะไรบ้าง
หรือการให้เด็กชิมรสชาติของน้ำผลไม้และบอกว่าเป็นรสชาติของผลไม้ใดบ้าง เป็นต้น
ทักษะการวัด (Measuring) หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับและรวมไปถึงการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง เช่น การวัดความยาวของโต๊ะเรียน การวัดความสูงของเก้าอี้ การวัดความหนาของหนังสือ สำหรับเด็กปฐมวัยหน่วยการวัดเด็กอาจจะเลือกเอง เช่น เด็กอาจจะวัดความยาวของโต๊ะโดยใช้เชือกผูกรองเท้าแล้วบอกว่า โต๊ะเรียนตัวนี้ยาวเท่ากับเชือกผูกรองเท้า 2 เส้น เป็นต้น
ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการจัดจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆออกมาเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา 3 ประการ คือ ความเหมือน ความต่าง และความ สัมพันธ์ เช่น การให้เด็กจำแนกผักด้วยเกณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้สีเป็นเกณฑ์ ใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์ หรือใช้ผิวสัมผัสเป็นเกณฑ์ เป็นต้น
ทักษะการสื่อสาร (Communicating) หมายถึง ความสามารถในการแสดงผลข้อมูลจากการสังเกต การทดลอง นำมาจำ แนก เรียงลำดับ และนำเสนอด้วยการเขียน แผนภาพ แผนผัง แผนที่ เช่น การให้เด็กปฐมวัยสำรวจจำนวนผักชนิดต่างๆที่อยู่ในตะกร้า และเด็กอาจจะสื่อสารด้วยการนำเสนอออกมาเป็นภาพวาดผักที่แสดงจำนวนผักแต่ละชนิด เด็กอาจจะวาดรูปมะเขือ 5 ผล แตงกวา 7 ผล ผักชี 4 ต้น ลักษณะของการนำเสนอจะขึ้นอยู่กับระดับความสามารถและความต้องการของเด็ก ทักษะการสื่อสารและวิธีการนำเสนอจะมีความซับซ้อนมากขึ้นตามระดับอายุและสติปัญญาของเด็ก
ทักษะการลงความเห็น (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการนำเสนออธิบายข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมเพื่อสรุปลงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ เช่น การจัดกิจ กรรมให้เด็กสำรวจพืชน้ำ จากการที่เด็กได้ไปสังเกตลักษณะของพืชน้ำ แล้วสรุปลงความเห็นว่า พืชน้ำมีลักษณะต้นกลวง นิ่ม มีท่ออยู่ในลำต้น มีรากเป็นกระจุก เช่น ผักตบชวา ผักกะเฉด ผักบุ้ง จอก แหน เป็นต้น
ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ซ้ำๆ และนำความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นๆมาช่วยในการทำนายภายในขอบเขตของข้อมูล (Interpolating) และภายนอกขอบเขตของข้อมูล (Extrapolating) เช่น จากการที่เด็กสังเกตว่าก่อนฝนตกจะมีเมฆมากและท้องฟ้ามืดครึ้ม มีลมพัดและเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กรับรู้มาก่อน ดังนั้น เมื่อมีปรากฏการณ์ดังกล่าวร่วมกันในครั้งต่อมา เด็กจะพยากรณ์ได้ว่าถ้ามีลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือฝนตก เป็นต้น สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อื่นๆที่มีความยากและซับซ้อนจะนำไปสอนในระดับที่สูงขึ้น เช่น ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการคิดคำนวณ ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร เป็นต้น