วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


Science Experiences Management for Early Childhood


กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 22 กันยายน 2557


ความรู้ที่ได้รับ


นำเสนอบทความ

1.สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์จากเป็ดและได้
เรียนโดยมีเพลงเป็นสื่อกลาง มีการสนธนาโต้ตอบ การเล่าเรื่องราวและการลงพื้นที่จริง
อ่านโดยนาวสางนภาวรรณ กรุดเงียม



2.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก บทความจาก ดร.เทพกัณญา
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นไม่ควารแยกแยะควรพัฒนาเด็กในองค์รวมทั้ง4ด้าน ควรเข้าใจคำถามของเด็กๆ
อ่านโดยนางสาวสุธาสินิ


3.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก บทความจากดร.อัญชลี ไสยวรรณ
เด็กปฐมวัยอยากรู้อยากเห็นชอบตั้งคำถามว่า"ทำไม"
อ่านโดยนางสาวนฤมล อิสสระ

    กิจกรรมในห้องเรียน







การนำไปใช้

- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆ

- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการเรียนการสอนได้ในอนาคต

ประเมิน 

ตนเอง  แต่งกายเรียบร้อย มีคุยบ้างในเวลาเรียน

เพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรม เสียงดังเป็นบางครั้ง

อาจารย์  อาจารย์สอนและอธิบายเนื้อหาได้เข้าใจดีค่ะ ไม่งง


  


 





บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


Science Experiences Management for Early Childhood


กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30


วันอังคารที่ 16 กันยายน 2557




ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับบทเพลงวิทยาศาสาตร์ให้ฟัง แล้วก็ให้วิเคราะห์ออกมาเป็นองค์

ความรู้ ฟังแล้วได้อะไร แล้วก็ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน


แล้วก็มีเพื่อน 2 คนออกไปนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน


1 นางสาววีนัส ยอดแก้ว นำเสนอเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่?

ผู้เขียน อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น

 2 นางสาวเจนจิรา บุตรช่วง นำเสนอเรื่อง สอนลูกเรื่องพืช
ผู้เขียน อาจารย์นิติธร ปิลวาสน์
การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน


การนำไปใช้

- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับการเรียนการสอนได้ในอนาคต


ประเมิน

ตนเอง ตั้งใจเรียนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย

เพื่อน เพื่อนๆตั้งใจเรียน

อาจารย์ อาจารย์สอนและอธิบายเนื้อหาได้เข้าใจพร้อมยกตัวอย่าง










วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557



สรุปความลับของแสง


แสง เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่รับรู้ได้ด้วยสายตา แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้แหล่งกำเนิดแสง

แหล่งกำเนิดแสง หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดแสงได้ โดยแยกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. แสงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาวบางดวง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า แสงจากดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ใหญ่ที่สุด

2. แสงจากสัตว์ สัตว์บางชนิดจะมีแสงในตัวเอง เช่น หิ่งห้อย แมงดาเรือง

3. แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เช่น แสงจากไฟฉาย เทียนไข หลอดไฟฟ้า แสงที่เกิดจากการลุกไหม้


การเดินทางของแสง

แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดด้วยความเร็วมาก โดยเดินทางได้ 186,000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 300,000 กิโลเมตร ต่อวินาที แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง และเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เช่น แสงจากดวงอาทิตย์เดินทางมายังโลกของเรา โดยผ่านสุญญากาศ ผ่านอากาศมายังโลกของเราใช้เวลา 8 นาที ซึ่งดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกของเราถึง 93 ล้านไมล์

ตัวกลางของแสง

ตัวกลางของแสง หมายถึง วัตถุที่ขวางทางเดินของแสง โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ตัวกลางโปร่งใส หมายถึง ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านไปได้หมด เช่น น้ำใส พลาสติกใส กระจกใส อากาศ แก้วใส

2. ตัวกลางโปร่งแสง หมายถึง ตัวกลางที่แสงผ่านไปได้ดี แต่ผ่านได้ไม่หมด เช่น น้ำขุ่น กระจกฝ้า หรือหมอกควัน เป็นต้น

3. ตัวกลางทึกแสง หมายถึง ตัวกลางที่แสงผ่านไม่ได้เลย เช่น สังกะสี กระเบื้อง กระจกเงา เป็นต้น

การหักเหของแสง

แสงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางอย่างเดียว จะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางอย่างหนึ่ง ไปยังตัวกลางอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการหักเหของแสง เช่น แสงเดินทางจากน้ำผ่านอากาศ หรือจากอากาศผ่านไปยังน้ำ จะเกิดการหักเหตรงรอยต่อ

การหักเหของแสงผ่านเลนส์

เลนส์ คือ วัตถุโปร่งใสที่ทำจากแก้วหรือพลาสติก ลักษณะของเลนส์จะมีผิวโค้งบริเวณตรงกลาง และส่วนขอบจะหนาไม่เท่ากัน เลนส์แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1. เลนส์นูน มีลักษณะตรงกลางนูนโค้งและมีส่วนขอบบางกว่า แสงเมื่อเดินทางผ่านเลนส์นูนจะเกิดการหักเห รวมแสงที่จุด จุดหนึ่ง ถ้าเราใช้เลนส์นูนส่องดูวัตถุจะทำให้ดูว่าวัตถุใหญ่ขึ้น เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์นูน

2. เลนส์เว้า มีลักษณะขอบโดยรอบหนากว่าส่วนกลางของเลนส์เมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์เว้าจะเกิดการหักเห และกระจายออกจากกัน ดังนั้นเลนส์เว้าจึงมีคุณสมบัติในการกระจายแสงเมื่อเรามองวัตถุผ่านเลนส์เว้าภาพที่เกิดจะมองเห็นวัตถุเล็กลงกว่าเดิม เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์เว้า









บทความ

บทความ  การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments)

การทดลองทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร?

ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์
ระดับ: ก่อนอนุบาล อนุบาลหมวด: เกี่ยวกับอนุบาล


การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การฟัง การเห็น การชิมรส การดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โอกาสปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังที่ ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget) กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลมาจากการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม และพัฒนาการทางสติปัญญาจะเป็นไปตามลำดับขั้น และสอดคล้องกับแนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ที่กล่าวว่า ประสบการณ์สำหรับเด็กเกิดขึ้นได้ต้องใช้ความคิดและการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การทดลอง และการค้นพบด้วยตนเอง ดังนั้น รูปแบบการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงคำนึงถึงพัฒนาและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะวุฒิภาวะ ความพร้อม และการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสามารถทางสมองของเด็ก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรก สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทักษะกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการคิดในการแสวงหาความรู้ ตลอดจนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้ทักษะการสังเกต (Observing) หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเข้าสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายละเอียดนั้นๆ เช่น
การให้เด็กสังเกตสีของผลไม้และบอกครูว่ามีสีอะไรบ้าง
การให้เด็กฟังเสียงร้องของนกชนิดต่างๆแล้วบอกว่าเป็นเสียงนกอะไรบ้าง
หรือการให้เด็กชิมรสชาติของน้ำผลไม้และบอกว่าเป็นรสชาติของผลไม้ใดบ้าง เป็นต้น
ทักษะการวัด (Measuring) หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับและรวมไปถึงการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง เช่น การวัดความยาวของโต๊ะเรียน การวัดความสูงของเก้าอี้ การวัดความหนาของหนังสือ สำหรับเด็กปฐมวัยหน่วยการวัดเด็กอาจจะเลือกเอง เช่น เด็กอาจจะวัดความยาวของโต๊ะโดยใช้เชือกผูกรองเท้าแล้วบอกว่า โต๊ะเรียนตัวนี้ยาวเท่ากับเชือกผูกรองเท้า 2 เส้น เป็นต้น
ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการจัดจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆออกมาเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา 3 ประการ คือ ความเหมือน ความต่าง และความ สัมพันธ์ เช่น การให้เด็กจำแนกผักด้วยเกณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้สีเป็นเกณฑ์ ใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์ หรือใช้ผิวสัมผัสเป็นเกณฑ์ เป็นต้น
ทักษะการสื่อสาร (Communicating) หมายถึง ความสามารถในการแสดงผลข้อมูลจากการสังเกต การทดลอง นำมาจำ แนก เรียงลำดับ และนำเสนอด้วยการเขียน แผนภาพ แผนผัง แผนที่ เช่น การให้เด็กปฐมวัยสำรวจจำนวนผักชนิดต่างๆที่อยู่ในตะกร้า และเด็กอาจจะสื่อสารด้วยการนำเสนอออกมาเป็นภาพวาดผักที่แสดงจำนวนผักแต่ละชนิด เด็กอาจจะวาดรูปมะเขือ 5 ผล แตงกวา 7 ผล ผักชี 4 ต้น ลักษณะของการนำเสนอจะขึ้นอยู่กับระดับความสามารถและความต้องการของเด็ก ทักษะการสื่อสารและวิธีการนำเสนอจะมีความซับซ้อนมากขึ้นตามระดับอายุและสติปัญญาของเด็ก
ทักษะการลงความเห็น (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการนำเสนออธิบายข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมเพื่อสรุปลงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ เช่น การจัดกิจ กรรมให้เด็กสำรวจพืชน้ำ จากการที่เด็กได้ไปสังเกตลักษณะของพืชน้ำ แล้วสรุปลงความเห็นว่า พืชน้ำมีลักษณะต้นกลวง นิ่ม มีท่ออยู่ในลำต้น มีรากเป็นกระจุก เช่น ผักตบชวา ผักกะเฉด ผักบุ้ง จอก แหน เป็นต้น
ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ซ้ำๆ และนำความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นๆมาช่วยในการทำนายภายในขอบเขตของข้อมูล (Interpolating) และภายนอกขอบเขตของข้อมูล (Extrapolating) เช่น จากการที่เด็กสังเกตว่าก่อนฝนตกจะมีเมฆมากและท้องฟ้ามืดครึ้ม มีลมพัดและเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กรับรู้มาก่อน ดังนั้น เมื่อมีปรากฏการณ์ดังกล่าวร่วมกันในครั้งต่อมา เด็กจะพยากรณ์ได้ว่าถ้ามีลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือฝนตก เป็นต้น สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อื่นๆที่มีความยากและซับซ้อนจะนำไปสอนในระดับที่สูงขึ้น เช่น ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการคิดคำนวณ ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร เป็นต้น



บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 9 กันยายน 2557




การนำไปประยุกต์ใช้

  สามารถนำความรู้ที่เรียนในห้องเรียนนำไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กได้ในอนาคต และได้รู้เกี่ยวกับ

รูปแบบของเด็กปฐมวัยว่ามีอะไรบ้างเพราะจะสามรถนำไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กได้ในอนาคต


ประเมิน

ตนเอง  เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอนและสามารถสรุปเป็น mind map ได้

เพื่อน  เพื่อนๆสนใจและตั้งใจเรียนในสิ่งที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี

อาจารย์  อาจารย์สอนและอธิบายเนื้อหาได้ละเอียดค่ะและยังมีการใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก เพื่อให้

เด็กได้โต้ตอบและแสดงความคิดเห็นออกมา







บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

 วันอังคารที่  2   กันยายน   2557

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ไปเข้าร่วมกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่สนามกีฬาในร่ม





การนำไปประยุกต์ใช้

 
 กิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์ให้ไปเข้าร่วมสามารถนำไปใช้ในการจัด Porject ให้กับเด็กๆได้ใน

อนาคต


การประเมิน


ตนเอง  ได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเข้าร่วมทำกิจกรรมต่าง สนุกสนานเพลิดเพลิน


เพื่อน เพื่อนๆสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตั้งใจทำกิจกรรมและแต่งกายสุภาพเรียบร้อยกัน

ทุกคน

อาจารย์  อาจารย์ให้นักศึกษาไปเข้าร่วมกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อให้ไปศึกษานอกห้องเรียนเพื่อให้เกิด

การเรียนรู้ที่แปลกใหม่











บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม 2557





การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำสิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้กับการสอนเด็กในอนาคตได้ เช่น การถามคำถามปลายเปิดให้เด็กเกิด

ความคิดและมีส่วนร่วมในการโต้ตอบในห้องเรียนและมีส่วนร่วมกับเพื่อนๆ


การประเมิน
ตนเอง  ตั้งใจฟังอาจรย์สอนและสามารถโต่ตอบอาจรย์ได้

เพื่อน  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนอย่างดีไม่ค่อยคุยกันและโต้ตอบ คำถาม-ตอบ อาจารย์ได้อย่างเข้าใจ

อาจารย์  อาจารย์มีการสอนแบบการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

การถามซ้ำๆเพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิดร่วมกับเพื่อนๆได้











บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

ชื่อวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

กลุ่ม 102 เวลา 14:10 - 17:30

วันอังคาร ที่ 19 สิงหาคม 2557

  วันนี้เป็นสัปดาห์แรกที่เรียนอาจารย์ก็แจก Course Syllabus ให้และอธิบายเกี่ยวกับนายละเอียดของวิชานี้





การนำไปใช้

นำแนวทางที่อาจารย์สอนไปปรับใช้ในการเรียนการสอนกับเด็กได้ในอนาคต


การประเมิน

ตนเอง : มีความพร้อมและตื่นเต้นที่จะเรียนเพราะเป็นการเปิดเรียนวันแรก

เพื่อน : ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์พูด

อาจารย์ : มีความพร้อมที่จะสอน เตรียมการมาอย่างดี และเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น